Skip to content

ทำไมทุกบริษัทจึงต้องให้ความสนใจกฏหมาย PDPA

PDPA หรือ Personal Data Protection Act ซึ่งจะประกาศใช้ในวันที่ 27 พ.ค 2564 เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพราะที่ผ่าน ๆ มาข้อมูลมหาศาลถูกจัดเก็บ ประมวลผล นำไปใช้ได้อย่างอิสระเกินไป ชนิดที่ว่าแทบจะรู้ความต้องการได้ดีกว่าเรา ยังไม่ทันไปเสริชหาใน Google เพียงแค่คิดในใจก็แสดงออกมาบน Facebook, Instagram แล้ว

Read more: ทำไมทุกบริษัทจึงต้องให้ความสนใจกฏหมาย PDPA

ซึ่งข้อมูลแบบนี้เข้าถ่ายการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างเห็นได้ชัด และนับว่าจะมากขึ้นเรื่อย ๆด้วยเหตุนี้จึงได้มีกฎหมาย PDPA เพื่อคุ้มครองพื้นที่ส่วนบุคคลบนโลกดิจตอลขึ้นมา

ข้อมูลที่สามารถระบุตัวบบุคลไม่ว่าทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นชื่อ, นามสกุล, เบอร์โทร, อีเมล์, LINE ID, เลขประจำตัวประชาชน ข้อมูลเหล่านี้ล้วนมีความอ่อนไหวอย่างเห็นได้ชัด

รวมถึงข้อมูลประเภทระบุตัวตนทางอ้อมใน Cookies ID , IMEI หรือ Device ID เมื่อมีการถูกเชื่อมกับ Server เพื่อระบุตัวอุปกรณ์ แม้ไม่เปิดเผยชื่อ นามสกุล เพราะอุปกรณ์พวกนี้นำข้อมูลที่มากพอ มาเรียนรู้รสนิยม ความชอบ ไม่ชอบ จนถูกยัดเยียดข้อมูลทางการตลาดให้กับผู้บริโภคเต็มๆ

จุดนี้เองทำให้ PDPA เข้ามาบังคับให้หน่วยงาน ธุรกิจ ปฏิบัติติอย่างเคร่งครัด ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนถึงจะนำไปใช้ได้ และหากฝ่าฝืน เกิดการฟ้องร้องกันในคดี ทั้งทางแพ่ง อาญา และปกครอง จะมีโทษปรับสูงถึง 5 ล้านบาทและจำคุกสูงสุด 1 ปี

ทำไมข้อมูลจึงสำคัญ

ข้อมูลส่วนบุคคลของเราทั้งที่อยู่ใน Big Data , Database ขนาดมหึมาขององค์กร หน่วยงาน ธุรกิจทั้งหลายล้วนเป็นข้อมูลที่สำคัญ โดยที่ผ่าน ๆมา ตอนที่ยังไม่มีกฎหมายควบคุม

สังเกตไหมว่า จะมีคนโทรศัพท์มาขายสินค้าเรา ไม่ว่าจะประกันชีวิต หรือสินค้าอื่นๆ ทั้งที่เราไม่เคยรู้จักหรือให้ข้อมูลกับพวกเขาเลย ซึ่งข้อมูลนี่ละ คือข้อมูลส่วนตัวของเรา ที่เราเคยไปกรอกทิ้งไว้ ไม่ว่าจะตอนสมัครบัตรเครดิต ไปโรงพยาบาล สมัครงาน ข้อมูลต่างๆ ที่เรากรอกเอาไว้ ล้วนเป็น “ประวัติ” ข้อมูลส่วนบุคคล

ทางบริษัท หรือสถานที่ แหล่งที่เราเคยไปกรอกข้อมูลทิ้งไว้ ไม่มีสิทธินำข้อมูลเราส่งต่อ หรือไปทำการตลาด หรือกิจกรรมอื่น ๆ ต่อได้หากไม่ได้รับความยินยอมจากเรา ดังนั้นนับจากนี้ต่อไปนี้ไป ข้อมูลหรือ Data ที่ไม่เคย Consent มาก่อนจะไม่สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ ได้ เพราะเป็นข้อมูลที่ไม่ได้มีการขอความยินยอมมาก่อน

ใครบ้างที่ได้ผลกระทบจากกฎหมาย PDPA

  • องค์กรธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นข้อมูลลูกค้าเก่า ๆ หรือแม้แต่ข้อมูลพนักงานในองค์กร จะได้รับผลกระทบกับกฎหมายฉบับนี้ด้วย
  • หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยที่มีการเก็บข้อมูลประชาชน ไม่มีสิทธินำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้ไปทำกิจกรรมอื่น ๆ
  • ธุรกิจขายของออนไลน์ e-commerce ที่มีการให้ข้อมูล ชื่อ นามสกุล เลขบัญชีโอนเงินกัน ถือเป็นการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว กฎหมายนี้จะไปครอบคลุมข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดด้วย

ดังนั้นทุกคนต้องปรับตัวตามกฎหมาย PDPA ฉบับนี้ การเก็บข้อมูลต่าง ๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลนั้น ๆ ก่อน

เพราะอย่างที่รู้ ๆ กันอยู่ว่าโลกทุกวันนี้ ทุกอย่างเติบโตไปพร้อมกับ Innovative ทุกอย่างต้องอาศัย Data เพื่อนำมาวางแผนโครงสร้างองค์กร และการตลาดได้อย่างแม่นยำ มันหมดยุคการคาดเดาอีกแล้ว ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนทำความเข้าใจ ให้สอดคล้องกับ PDPA เพื่อทำ Marketing อย่างฉลาดขึ้น แล้วไม่ผิดต่อกฎหมาย

แบบไหนเรียกว่า “ยินยอมรับทราบ” สำหรับกฏหมาย PDPA

  • หากในระบบดิจิทัล ต้องมีการแจ้งเตือน เพื่อให้ผู้กรอกข้อมูลรับทราบว่า จะมีข้อมูลที่บุคคลนั้น ๆ กรอกเข้ามาจะถูกเก็บเป็นข้อมูลส่วนบุคคล
  • ต้องได้รับการยินยอม หรืออนุญาต ยินยันจากบุคคลนั้น ๆ ผ่านระบบ ว่ายินยอมให้เก็บข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองได้
  • ต้องแจ้งให้ทราบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นจะถูกนำไปใช้ เพื่ออะไร ระยะเวลาที่กำหนดไว้จะจัดเก็บยาวนานแค่ไหน

** และที่สำคัญ ต้องมีระบบ ที่สามารถให้บุคคลนั้น ๆ เข้ามาลบข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นชื่อ เบอร์โทร ฯลฯ ได้ เช่น Functionแสดงบนหน้าเว็บไซต์  “ยกเลิกการเก็บข้อมูล” ได้อย่างสมัครใจ

เพราะสิ่งที่ผู้ประกอบการ หรือบริษัทต่าง ๆ  ต้องพึงระวังมากที่สุด นั้นคือ เจ้าของข้อมูลสามารถฟ้องร้องได้ หากไม่ได้ความยินยอม โดยค่าเสียหายมูลค่าสูงสุดถึง 5 ล้านบาท!! เลยทีเดียว

ตัวอย่างที่ต้องปรับตามกฎหมาย PDPA คุ้มครองประชาชน

  • ห้ามถ่ายรูปหน้าตาคนอื่นนำมาโพสท์ Facebook เข้าข่ายผิด พ.ร.บ คุ้มครองส่วนบุคคล เพราะไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของ
  • ข้อมูลโฆษณาการตลาด ไม่ว่าจะผ่าน E-mail หรือผ่าน Facebook ผ่าน Google ผ่านในมือถือ ข้อมูลเหล่านี้ต้องได้รับความยินยอมในการเก็บข้อมูลจากบุคคลนั้นๆก่อน ที่จะนำไปใช้ยิงโฆษณา Retarget ตามหลอกหลอนผู้บริโภคได้ ซึ่งข้อมูลตรงนี้ผู้บริโภคผู้ใช้งานสามารถเข้าไปลบข้อมูลบน Facebook ตนเองได้ เพื่อไม่ให้ Facebook จำว่าตนเองเคยท่องเพจหรือเว็บไซต์ไหนมาบ้าง รวมถึงคอมเมนต์ สามารถลบทิ้งได้หมด ซึ่งข้อมูลตรงนี้ส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะไม่ค่อยทราบ

ดังนั้น นับจากนี้ข้อมูลต่าง ๆ จะต้องถูกกฎหมาย ทำถูกหลักการทำงานของ PDPA การเก็บข้อมูล ไม่ว่ากรอกหรือบันทึกเสียง ต้องถูกเก็บบันทึกโดยได้ความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล และมีการแจ้งรายละเอียด สิทธิ วัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูลนั้น ๆ ให้เจ้าของข้อมูลทราบ และที่สำคัญ การเก็บข้อมูลจะต้องถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ

องค์กรต่าง ๆ จึงต้องปรับตัวใส่ใจวางแผนเว็บไซต์เพื่อรับมือกับ พ.ร.บ PDPA ทำ ‘Cookie Consent’ ให้เจ้าของข้อมูลผู้ใช้งานยินยอมให้ข้อมูล พร้อมศึกษารายละเอียด พ.ร.บเพื่อแก้ไขป้องกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์ของตนเองและองค์กรต่อไป และเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจยิ่งขึ้น

สำหรับท่านที่สนใจในการทำ Cookie Consent ให้กับเว็บไซต์ WordPress ของคุณ สามารถดูข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางหน้าเว็บไซต์ WordPress Plugin Designil PDPA ได้เลยนะครับ ทางทีมงานยินดีรับใช้และให้บริการครับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า